วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างของระบบเครือข่าย (Network Topology)


โครงสร้างของระบบเครือข่าย (Network Topology)

              แบบ LAN  ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) สามารถออกแบบการเชื่อมต่อกันของเครื่องในเครือข่าย ให้มีโครงสร้างในระดับกายภาพได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
1)  โครงสร้างแบบดาว (Star Topology)


เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ มีข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบ กระเทือนกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสีย ระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที
ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ 
ข้อเสีย
 คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดชะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ

2)  โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)


เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสายเคเบิลหรือบัสนี้เปรียบเสมือนกับถนนที่ข้อมูลจะส่งผ่านไปมาระหว่าง แต่ละเครื่องได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องผ่านไปที่ศูนย์กลางก่อน โครงสร้างแบบนี้มีข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก
ข้อดี        ของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงาน ของระบบโดยรวม แต่มี
ข้อเสีย      การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
ข้อจำกัด   จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของ สัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

3)  โครงสร้างแบบแหวน (Ring Topology)


เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน  ข้อมูลจะถูกส่ง ต่อ ๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย      ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงาน ได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน 
ข้อดี    ของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้
4. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช (mesh topology)
        โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆทุกเครื่อง โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่ง ข้อมูล ได้อิสระไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน
ข้อเสียก็คือการเชื่อมต่อหลายจุด แต่เนื่องจาก ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบเมซ
คือ การมีเส้นทางสำรองข้อมูล จึงได้มีการประยุกต์ใช้การเชื่อมต่อแบบเมซบางส่วน หรือการเชื่อมต่อแบบเมซที่ไม่สมบูรณ์ กล่าว คือ จะเชื่อมต่อเฉพาะสิ่งที่จำเป็นหรือสำคัญเท่านั้น 

Description: http://www.thainame.net/weblampang/student3/images/mesh_topology.jpg

5. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (hybrid topology)
        เป็นโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานความสามารถของโครง สร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบรวมกัน ประกอบด้วยเครือข่าย คอมพิวเตอร์ย่อยๆ หลายเครือข่ายที่มีโครงสร้างแตกต่างกันมาเชื่อมต่อกันตามความเหมาะสม ทำให้เกิดเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารข้อมูล
ข้อดี
1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อย เมื่อเทียบกับระบบดาว2. เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลน้อย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อเสีย
1. หากเกิดความเสียหายจุดใด จะทำให้ระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ จนกว่าจะนำจุดที่เสียหายออกจาก ระบบ
2. ยากต่อการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด เพราะอาจต้องหาทีละจุด3. การจัดโครงสร้างใหม่ค่อนข้างยุ่งยาก เมื่อต้องต้องการเพิ่มจุดสถานีใหม่ ถ้าจะทำต้องตัดสายใหม่

Description: http://www.thainame.net/weblampang/student3/images/Hybrid.jpg

โครงงานบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง เมี่ยงคำเมืองตาก สาขาวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา


โครงงานบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง เมี่ยงคำเมืองตาก สาขาวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา

                                     โครงงานเมี่ยงคำเมืองตาก สาขาวิชา สุขศึกษา
เมี่ยงคำ
เมี่ยงคำเป็นอาหารที่คนภาคกลางนิยมรับประทานเป็นอาหารว่าง ในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้นชะพลูออกใบและยอดอ่อนมากที่สุดและรสชาติดีแต่จริงๆ แล้วเมี่ยงคำสามารถรับประทานเป็นอาหารว่างได้ตลอดทั้งปี แล้วแต่ว่าจะมุ่งรับประทานเพื่อความอร่อยหรือจะรับประทานเพื่อการดูแลสุขภาพ (การปรับสมดุลธาตุในร่างกาย)

ประวัติของเมี่ยงคำ

ตามที่ได้อ่านจากประวัติความเป็นมาว่าในสมัยก่อนจะมีข้าราชบริพารในรั้วในวังมากมาย 

และการที่จะจัดตั้งเครื่องเสวย หรือการจัดอาหารถวายก็พยายามคัดสรรเมนูที่ต้องให้แปลก 

ใช้ฝีมือประดิดประดอย และต้องอร่อย

 ดังนั้นเมนู เมี่ยงคำ เป็นเมนูที่ได้แสดงออกถึงฝีมือที่ประณีตมากๆ ต้อง ซอยหอมแดง หั่นขิง

อ่อนเป็นเต๋าพอดีเท่ากันทุกเต๋า มะนาวติดเปลือกบางๆ ต้องฝานให้ได้สี่เหลี่ยมเล็กๆ ห้ามมีน้ำ

ไหล กุ้งแห้งต้องล้างและต้องคัดขนาดของกุ้งให้เท่ากัน แม้กระทั่งถั่วลิสงต้องคั่วเอง แล้ว

เรียงเม็ดจัดให้สวยตามกลุ่มๆ เหมือนจัดในโตกทางเหนือ นอกจากนั้นจะมีเนื้อมะพร้าวคั่ว 

แล้วนำทุกอย่างมาห่อใส่ใบชะพลู หรือใบทองหลาง

ใบชะพลูมีประโยชน์มากๆ คือ มีคุณค่าทางอาหารสูงมากในเรื่องช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ 

และอุดมไปด้วยแคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินซี ดังนั้นผู้หญิงต้องกินมากๆ ปัจจุบันมี

คนมาดัดแปลงใช้ใบคะน้า เลยเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น เมี่ยงคะน้า แต่เมี่ยงคะน้าไม่ใช้เนื้อ

มะพร้าวคั่ว ใช้กากหมูเพิ่มเข้ามาแทน

สำหรับ น้ำของเมี่ยง จะเป็นน้ำเดียวกัน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ กุ้งแห้ง ขิง และหอมแดง นำมา

โขลกรวมกัน แล้วเคี่ยวกับน้ำตาลปี๊บ ในสมัยก่อนใช้ปลาแห้ง แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกุ้งไป

หมดแล้ว เนื่องจากเกรงว่าปลาจะมีกลิ่นคาวปลา และบางที่อาจใส่กะปิลงไปนิดหน่อยแล้วแต่

ชอบ หากบางคนไม่ชอบกลิ่นกะปิ ก็ไม่ต้องใส่ แต่สุดท้ายต้องเหยาะน้ำปลาและเกลือนิด

หน่อย

จุดประสงค์ของการทำ
 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการโภชนาการต่างๆของเมี่ยงคำ(ณ ที่นี้เราศึกษาเรื่องเมี่ยงเต้าเจี้ยว) ไม่ว่าจะเป็น
-การทำเมี่ยงคำ
-ประวัติเมี่ยงคำ
-สูตรแต่ละสูตรของเมี่ยงคำ
-ส่วนประกอบเมี่ยงคำ
-ประโยชน์ของเมี่ยงคำ
-คุณค่้าของสารหารในเมี่ยงคำ

เครื่องปรุงเมี่ยงคำ
มะพร้าวหั่นชิ้นเล็ก ๆ คั่ว
1 ถ้วย (300 กรัม)
กุ้งแห้งตัวเล็ก (ชนิดจืด)
1 ถ้วย (300 กรัม)
ถั่วลิสงคั่ว
1 ถ้วย (300 กรัม)
หอมแดงหั่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ
½ ถ้วย (50 กรัม)
ขิงหั่นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
½ ถ้วย (50 กรัม)
มะนาวหั่นทั้งเปลือกสี่เหลี่ยมเล็ก 
½ ถ้วย (60 กรัม)
พริกขี้หนูหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 
25 เม็ด (30 กรัม)
ใบชะพลู,ใบทองหลาง 
100 กรัม
กุ้งแห้งโขลกละเอียด
½ ถ้วย (100 กรัม)
มะพร้าวขูดคั่วให้เหลือง
½ ถ้วย (300 กรัม)
ข่าหั่นละเอียด
1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
ตะไคร้หั่นฝอย
1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
หอมแดงซอย
¼ ถ้วย (25 กรัม)
น้ำตาลปีบ
1 ถ้วย (240 กรัม)
กะปิเผา
2 ช้อนชา (15 กรัม)


น้ำปลา
1 ถ้วย (60 กรัม)



วิธีทำเมี่ยงคำ
-โขลกข่า ตะไคร้ หอมแดง ให้ละเอียด ใส่กะปิ โขลกให้เข้ากัน ใส่น้ำปลา น้ำตาลลงในหม้อตั้งไฟกลางๆ ใส่เครื่องที่โขลกคนให้เข้ากัน เคี่ยวพอเหนียว ยกลงใส่กุ้งแห้ง มะพร้าวคั่ว ยกขึ้นตั้งไฟเคี่ยวให้เหนียว ยกลง
วิธีการจัดรับประทาน ให้จัดใบชะพลูหรือใบทองหลางใส่จานวางเครื่องปรุงอย่างละน้อยลงบนใบชะพลู หรือใบทองหลางที่จัดเรียงไว้ตักน้ำเมี่ยงหยอดห่อเป็นคำๆ รับประทาน หรือจะทานแบบครบเครื่องด้วยการพันหรือม้่วนใบชะพลู ใบทองหลางหรือข้าวเกรียบงาดำชุบน้ำให้อยู่ในรูปลักษณะที่เป็นกรวย จากนั้นใส่เครื่องเคียงตามต้องการ แล้วปิดท้ายโดยการราดเต้าเจี้ยว พันเครื่องห่อให้เป็นคำแล้วทานได้เลย

สรรพคุณทางยา+สมุนไพร
1. มะพร้าว รสมันหวาน บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูก
2. ถั่วลิสง รสมัน บำรุงเส้นเอ็น บำรุงธาตุดิน
3. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
4. ขิง รสหวาน เผ็ดร้อน แก้จุดเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน
5. มะนาว เปลือกผล รสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาวรสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต 6. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
7. ใบชะพลู รสเผ็ดเล็กน้อย แก้ธาตุพิการ ขับลม
8. ใบทองหลาง ขับพยาธิไส้เดือน แก้ตาแดง ตาแฉะ ตับพิษ
9. ข่า รสเผ็ดปร่าและร้อน ช่วยขับลม ขับพิษโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้
10. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ

ประโยชน์ของเมี่ยงคำ
เมี่ยงคำเป็นอาหาร ช่วยบำรุงธาตุ ปรับธาตุชั้นหนึ่งในเครื่องเมียงคำที่ประกอบด้วยใบชะพลู มะนาว บำรุงธาตุน้ำ พริก หอม บำรุงธาตุลม ขิงและเปลือกมะนาว บำรุงธาตุไฟ มะพร้าว ถั่วลิสง น้ำตาล กุ้งแห้ง บำรุงธาตุดิน เมื่อทำเมี่ยงคำเป็นอาหารว่าง ผู้รับประทานสามารถปรุงตามสัดส่วนที่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของตนได้ หรือปรุงสัดส่วนตามอาการที่ไม่สบายได้อย่างเหมาะสม


คุณค่าทางโภชนาการของเมี่ยงคำ
  

-เมี่ยงคำ 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 659 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย 
- โปรตีน 114 กรัม
- ไขมัน 88.6 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 370.7 กรัม
- กาก 9.6 กรัม
- ใยอาหาร 13.4 กรัม
- เถ้า 6.4 กรัม
- แคลเซียม 1032 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 1679.1 มิลลิกรัม
- เหล็ก 51.1 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 4973.7 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 140.2 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 1.7 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 35.2 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 186.4 มิลลิกรัม 


สรุปผล
-การที่เราศึกษาทำให้ได้ทราบถึงอาหารพื้นบ้านของจังหวัดตาก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันเก่าแก่ เป็นประเพณีอันล้ำค่า สามารถต่อยอดและเผยแพร่ให้บุคคลอื่นๆต่อๆไปได้
-โครงงานนี้เป็นโครงงานในหัวข้อสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา โดยทำเกี่ยวกับโภชนาการ สารอาหาร ประโยชน์ และ พลังงานที่ได้รับจากเมี่ยงคำ 
-สามารถสืบสานอาหารพื้นบ้านต่อไปได้